CPF : บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน)
หมวดธุรกิจ : อาหารและเครื่องดื่ม  www.cpfworldwide.com

:::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::
-----------------------------------------------------------------------
ศุกร์ 24 ส.ค.2555--CPF :
ที่มา : 2Q12 Earnings Results : บล.เคทีบี(ประเทศไทย)

บมจ. เจริญโภคภัณฑ์อาหาร (CPF)           Buy
Current Price: Bt32.50
Target Price : Bt40.40
แนวโน้มผลประกอบการงวด 3Q55 ยังไม่แกร่ง  ... แต่กำลังปรับตัวดีขึ้น    
     * เรายังไม่คาดหวังทางบวกมากต่อกำไรสุทธิงวด 3Q55 ของ CPF
     * ... แต่คาดหวังการฟื้นตัวที่ดีขึ้นตามลำดับในช่วง 4Q55 เป็นต้นไป
     * ปรับราคาเป้าหมายปี 2555 ลดลงเหลือ 40.40 บาท ... แต่ยังแนะนำ "ซื้อ"    
ผลประกอบการ CPF งวด 2Q55 อ่อนแอตามที่รายงานไปแล้ว
     กำไรสุทธิของ CPF สำหรับงวด 2Q55 เท่ากับ 4,035 ล้านบาท (-17% y-o-y และ -67% q-o-q) ซึ่งถือว่าอ่อนแอตามที่คาดการณ์ไว้ โดยมีปัจจัยกดดันหลักต่อผลการดำเนินงานสำหรับไตรมาสที่มีนัยสำคัญจาก (1) ราคาผลิตภัณฑ์หลักทั้งไก่และหมูอยู่ในระดับที่ทรงตัว (ทั้งๆ ที่ควรจะเพิ่มขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าวเมื่อเทียบกับปีอื่นๆ) และ (2) ไม่มีการบันทึกรายการพิเศษเข้ามาจำนวนมากเหมือนที่เกิดขึ้นในงวด 1Q55 ที่ผ่านมา ซึ่งกำไรที่บันทึกเข้ามาส่วนใหญ่เกิดจากการขายทำกำไรในหุ้น CPALL โดย ณ สิ้นงวด 2Q55 พบว่า CPF ถือหุ้น 30.90% ซึ่งไม่ลดลงจากสิ้นงวด 1Q55 ที่ระดับ 30.87%) ขณะที่ภาพรวมการลงทุนที่จะเกิดจากการถือหุ้น CPALL ในระยะยาวยังคงเป็นบวกต่อ CPF ทั้งในด้านผลตอบแทนจากการลงทุนและการทำธุรกิจที่มีการจำหน่ายผ่านร้าน 7-Eleven อย่างไรก็ตาม จะเห็นได้ว่า นอกจากราคาผลิตภัณฑ์หลักที่อ่อนแอในช่วงเวลาดังกล่าวแล้ว ยังพบว่า ภาพรวมการบริโภคในช่วง 2Q55 ไม่แข็งแกร่งทั้งในส่วนของตลาดในประเทศและต่างประเทศเมื่อเปรียบเทียบ y-o-y
มุมมองต่อภาพรวม 2H55 ยังไม่เป็นบวกอย่างมีนัยสำคัญ ...ทำให้เราปรับราคาพื้นฐานปี 2555 ลดลงเป็น 40.40 บาท (จาก 46.30 บาท)
     แม้ว่า เรายังคงมุมมองที่เป็นบวกต่อทิศทางผลการดำเนินงานของ CPF ในระยะยาว โดยคาดการณ์แนวโน้มผลการดำเนินงานของบริษัทเป้นไปในทิศทางที่เติบโตต่อเนื่องในช่วง 5 ปีข้างหน้า พิจารณาได้จากเป้าหมายยอดขาย 5 ปีข้างหน้าที่จะเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัวจากปัจจุบัน แต่ประเด็นที่ทำให้มุมมองต่อผลการดำเนินงานระยะสั้นที่ไม่แข็งแกร่งมากนักก็คือ คาดการณ์ราคาผลิตภัณฑ์หลักที่ยังไม่ฟื้นตัวแบบแข็งแกร่ง ประกอบกับภาพรวมเศรษฐกิจโลกที่ยังมีแนวโน้มอ่อแอ ขณะที่การปรับลดปริมาณการผลิตของผู้ประกอบการหลายรายที่ได้รับผลกระทบในช่วง 1H55 จะให้ผลลัพธ์ทางบวกที่ไม่มากและรวดเร็ว ทำให้ความสามารถในการทำกำไรเพิ่มขึ้นไม่มากนักสำหรับ 2H55 เราจึงปรับลดประมาณการกำไรสุทธิสำหรับปี 2555 และ 2556 เพื่อสะท้อนความกังวลดังกล่าว ดังนั้น เราได้ปรับลดราคาเป้าหมายของ CPF ลงเหลือ 40.40 บาท (PE อ้างอิง 13 เท่า) แต่ราคาหุ้น CPF ในช่วงที่ผ่านมาได้ตอบรับทาง ลบล่วงหน้าถึงคาดผลประกอบการที่อ่อนแอไปแล้ว เรายังคงแนะนำ "ซื้อ"
-----------------------------------------------------------------------

ศุกร์ 17 ส.ค.2555--CPF :
ที่มา : KSS Company Update : บล.กรุงศรี จำกัด (มหาชน)

Charoen Pokphand Foods
Stock Rating        TRADING
Previous Rating     TRADING
Fair Value          Bt33.00
Current Price       Bt32.50
Upside/(Downside)   +2%
Consensus (median)  Bt42.12
Sector              Food
Sector Rating       NEUTRAL
คาดผลการดำเนินงานจะฟื้นตัวชัดเจนในปี 56
     คงคำแนะนำ "เก็งกำไร" จากคาดหวังเชิงบวกต่อการฟื้นตัวของผลการดำเนินงานในช่วงที่เหลือของปี และจะเร่งตัวขึ้นในปี 56 จากอุปสงค์-อุปทานเนื้อสัตว์ที่เข้าสู่ภาวะสมดุล ขณะที่ผลการดำเนินงานโดยภาพรวมกว่า 2/3 มาจากธุรกิจอาหารสัตว์ที่ยังสร้างกำไรได้สม่ำเสมอ อย่างไรก็ตามเราได้ปรับลดมูลค่าพื้นฐานลง 13% ที่ 33 บาท ตามการปรับลดประมาณการกำไรปี 55-56 ด้วยสมมติฐานเชิงอนุรักษ์ขึ้น
CPP ช่วยสนับสนุนการเติบโตของ CPF
    * ผลการดำเนินงาน 1H55 หากไม่รวมกำไรจากการปรับมูลค่าเงินลงทุนใน CP Vietnam (8.6 พันล้านบาท รวมถึงการขายเงินลงทุนในธุรกิจประกัน (1.0 พันล้านบาท) และ  CPALL (1.3 พันล้านบาท) จะมีกำไรจากการดำเนินงานเพียง 5.08 พันล้านบาท (-35%YoY หรือลดลง 2.7 พันล้านบาทจากปีก่อน) จากยอดขายที่ 1.65 แสนล้านบาท (+67%YoY) เรามองว่าการลดลงจากปีก่อนเป็นผลจากปรับลดของราคาผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์และต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้นส่งผลให้อัตรากำไรขั้นต้นรวมลดลงเหลือเพียง 13.7% จาก  17.2% ใน 1H55 (เฉพาะผลการดำเนินงานในไทยมีอัตรากำไรขั้นต้นลดลงเหลือ 14% เทียบกับ 20% ใน 1H55 ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกัน)
    * ผลการรวมธุรกิจ CPP เข้ามา ทำให้ความสามารถในการทำกำไรลดลง เนื่องจากดอกเบี้ยจ่ายต่อยอดขาย CPP ที่สูงกว่าของ CPF ส่งผลให้ดอกเบี้ยจ่ายหลังรวมงบแล้วเพิ่มขึ้นกว่า 1.7 พันล้านบาท (+162%YoY)   ขณะเดียวกันอัตราภาษีเงินได้ของ CPP ที่สูงถึง 25% เทียบกับ CPF ที่ 17% (เนื่องจากสิทธิประโยชน์ด้านภาษี) ทำให้ภาษีจ่ายรวมเพิ่มขึ้น 413 ล้านบาท (+25%YoY)
    * โดยภาพรวม CPP ช่วยทำให้กำไรของ CPF ดีขึ้น เราประเมินว่า 1H55  CPF รับรู้กำไรจาก CPP ราว 1.8 พันล้าบาท หรือ 35% ของกำไรสุทธิรวม (เริ่มรวมงบ 2 เดือนใน 1Q55 และเต็มไตรมาสในช่วง 2Q55)  หากพิจาณาเฉพาะธุรกิจ CPP พบว่าช่วง 1H55 มีกำไรสุทธิที่ US$ 105 ล้านหรือโตกว่า 64% จากยอดขายรวมที่ US$2.3 พันล้าน (+95%YoY) เกิดจากการเติบโตทั้งธุรกิจอาหารสัตว์ในจีนและธุรกิจครบวงจรในเวียดนาม ซึ่งเราคาดว่ายังมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องในปี 56
คาดอุปสงค์-อุปทานเนื้อสัตว์จะเข้าสู่สมดุลในปี 56
     ความผันผวนของราคาเนื้อไก่ช่วงที่ผ่านมาเกิดจากผู้ประกอบการฟาร์มไก่รายใหญ่ต่างเพิ่มกำลังการผลิตเป็นจำนวนมากเพื่อรองรับการส่งออกไปอียู คาดว่าตั้งแต่เดือนก.ย.นี้เป็นต้นไปที่ผู้ประกอบการฯเริ่มส่งออกไก่สดแช่แข็งไปอียูได้ ซึ่งจะทำให้สถานการณ์ราคาเนื้อสัตว์ทั้งไก่และหมูจะดีขึ้น แต่การดีขึ้นอย่างมีนัยคงต้องรอการลดพ่อแม่พันธุ์ไก่ในอุตสาหกรรมฯ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่ออุปทานเนื้อไก่ในปี 56 จึงคาดว่าผลการดำเนินงานของ CPF จะเริ่มฟื้นตัวในช่วงที่เหลือของปีนี้ แต่จะดีขึ้นอย่างชัดเจนในปี 56 ส่วนทิศทางต้นทุนราคาวัตถุดิบโดยเฉพาะถั่วเหลืองที่มีแนวโน้มปรับสูงขึ้นตามตลาดโลกมาตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังของปี 54 และจะส่งผลกระทบต่อต้นทุนของ CPF ตลอดทั้งปีนี้ คาดว่าผลกระทบจะเป็นลักษณะค่อยเป็นค่อยไปเนื่องจาก CPF ได้เก็บสะสมสต๊อกไว้ครอบคลุมถึงปลายปีแล้ว และยังเชื่อว่าจะสามารถปรับขึ้นราคาอาหารสัตว์ขึ้นมาชดเชยได้ ส่วนข้าวโพดราคายังทรงตัวและสามารถหาวัตถุดิบได้จากภายในประเทศรวมถึงประเทศเพื่อนบ้าน
ปรับลดประมาณการกำไรปี 55 และ 56 ลง 30% และ 15% ตามลำดับ

     พื่อสะท้อนปัจจัยเสี่ยงด้านราคาผลิตภัณฑ์และผลการดำเนินงาน 2Q55 ที่แย่กว่าคาด เราจึงได้ปรับลดประมาณการกำไรก่อนรายการพิเศษปี 55 และ 56 มาอยู่ที่ 1.30 และ 1.72 หมื่นล้านบาทตามลำดับ หรือลดลงราว 15%-30% จากประมาณการเดิม (ดูรายละเอียดในตารางด้านหลัง) ขณะที่การซื้อกิจการที่จะเกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงที่เหลือของปีนี้ (ยังไม่เปิดเผยรายละเอียด) จะเป็นปัจจัยเสริมการเติบโตหลังปี 55
คงคำแนะนำ "เก็งกำไร" จากโอกาสฟื้นตัวปี 56 จากอุปสงค์-อุปทานเนื้อสัตว์เข้าสู่ภาวะสมดุล
     คาดว่าผลการดำเนินงานจะเริ่มฟื้นตัวอย่างชัดเจนในปี 56 ผู้ประกอบการฟาร์มไก่จะเริ่มส่งออกไป  อียูในช่วงปลายปีนี้ กอปรกับการทยอยลดจำนวนพ่อแม่พันธุ์ไก่ลงจะส่งผลต่อภาวะอุปสงค์และอุปทานเข้าสู่สมดุลในปี 56 และจะเป็นผลดีต่อระดับราคาผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ทั้งไก่และหมูที่มักแปรผันตามกัน กอปรกับธุรกิจอาหารสัตว์ในจีนและไทย (สัดส่วนราว 2/3 ของรายได้รวม) จะสามารถทำกำไรได้ต่อเนื่องในปี 56 จากความสามารถในการปรับเพิ่มราคาตามต้นทุนวัตถุดิบที่เพิ่ม ขณะเดียวกันยังมีโอกาสโตจากการซื้อกิจการที่จะช่วยสร้าง Synergy ในระยะยาว เราได้ปรับลดมูลค่าพื้นฐานลงจากเดิม 13% มาอยู่ที่ 33 บาท อิงกับ P/E เป้าหมายเดิมที่ 15 เท่าสำหรับผลการดำเนินงานปี 56 ตามการปรับลดประมาณการกำไร
-----------------------------------------------------------------------